นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
ผู้หญิงกับวิถีชีวิตไทย

ผู้เฒ่ารักษาวิถีไทย

223-152

คำอธิบายภาพ :

การปั้นหม้อดินในปัจจุบันมีคนทำเป็นน้อยลง และนับวันจะสูญหาย ผู้ที่มีความสามารถและคนที่สืบทอดเป็นเพราะสังคมเปลี่ยนไป มีผู้ใช้หม้อดินลดน้อยลง คงเหลือแต่คนแก่คนเฒ่าที่ยังพอรู้จักการใช้และปั้นเป็น ยายแก่คนนีปัจจุบันก็ยังคงนั่งทำหม้อดินอยู่ทุกวัน แม้ลูกหลานจะเข้าไปทำงานในตัวเมืองกันหมด คงเหลือแต่แกนั่งปั้นหม้ออยู่ทุกวัน ในปัจจุบันนี้เราควรตระหนักถึงผู้หญิงที่มีความสามารถเช่นนี้ และควรมีการจัดการระบบการศึกษาปัจจุบัน โดยน่าจะควรให้นักเรียนท้องถิ่นได้มีการหัดงานหัตถศิลป์ หัตถกรรม และคงวิถีชีวิตแบเดิมๆของชาวไทยเอาไว้ มิเช่นนั้นแล้ว หม้อดินในทีที่คุณยายบรรจงปั้นแต่งมาอย่างดีด้วยความตั้งใจอาจสูญหาย และคงได้แต่หนังเรื่องนางนากพระโขนงเท่านั้น แต่ได้เก็บประวัติของคุณยายที่ได้ดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยเอาไว้ตั้งแต่ใน อดีตจนถึงปัจจุบัน หวังว่านี่คือสิ่งที่เราได้ร่วมกันอนุรักษ์และเก็บวิถีชีวิตไทยในรูปแบบ หนึ่งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูกันนะครับ

ผู้ถ่ายภาพ : บุญมี ถนอมสุขสันต์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : ตุลาคม 2542 จ.พระนครศรีอยุธยา
เทคนิค : ฟิล์มฟูจิ RVP F8 ความไวชัตเตอร์ 1/30

ปั้นแต่งแรงมือ (Hand Made)

223-151

คำอธิบายภาพ :

เครื่องปั้นดินเผาเป็นศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่ นิยมทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบันนี้ การทำเครื่องปั้นดินเผาที่เห็นในภาพเป็นการทำเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัด สุโขทัย โดยรูปลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาดังกล่าวจะมีรูปทรงต่างๆกันตามความต้องการ ของการนำไปใช้งาน การผลิตเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่อดืตมาจนถึงปัจจุบันยังคงนิยมใช้แรงงานคน ซึ่งถือว่าเป็นงานฝีมือ และเป็นการสืบทอดภูมปัญญาชาวบ้านหรือที่มักนิยมพูดกันว่าเป็นภูมิปัญญาไทย ที่ควรอนุรักษ์ และส่งเสิมเพื่อพัฒนาให้เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนใน ประเทศได้โดยรัฐบาลเข้ามาดูแลช่วยเหลือ เพื่อเป็นการสนองนโยบายเศรฐกิจพอเพียงที่กำลังรณรงค์กันอยู่ในปัจจุบัน

ผู้ถ่ายภาพ : ชัยวัฒน์ บุญจรัส
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 16 เมษายน 2543 อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
เทคนิค : เลนส์ 80-200 มม. F 4 ความไวชัตเตอร์ 1/125 วินาที ฟิล์มอิลฟอร์ด 400 IOS

บรรจงแต่ง

223-150

คำอธิบายภาพ :

จุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพนี้ต้องการบ่งบอกถึงความ พยายามของผู้หญิงไทยที่ใช้ความสามารถและความประณีตปั้นแต่งหม้อ ที่เข้าเหล่านั้นต้องใช้แรงกาย แรงใจในการปั้น ความมีสมาธิใจเย็น จิตใจจดจ่ออยู้กับงาน เพราสมัยก่อนนั้นคนไทยเรามีอาชีพในการทำงานฝีมือมากมาย อย่างเช่นการปั้นหม้อ เป็นอาชีพของคนไทยแต่โบราณที่ถ่ายทอดต่อๆกันมาเป็นอาชีพในปัจจุบัน ทำให้เป็นเอกลักษณ์ที่หาดูได้ยาก วิถีชีวิตเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไทย ถ้ายังคงได้รับความสนใจและความศรัทธาในงานศิลป์เหล่านี้ ข้าพเจ้าถ่ายทอดภาพนี้ด้วยการให้เห็นถึงการทำงานของผู้หญิงไทย ซึ่งกำลังปั้นแต่งหม้อให้เป็นรูปทรงที่ต้องใช้ความปราณีตและความมีสมาธิ ข้าขเจ้าใช้ส่วนประกอบของภาพไม่มาก คือ ผู้หญิงที่กำลังทุบหม้อ และหม้อไม่กี่ใบให้รู้ว่าการทำหม้อต้องทำอย่างไร เมื่อเสร็จจากการแต่งหม้อแล้ว ต้องนำหม้อที่ได้รูปทรงออกมาตากแดดให้แห้งจนอยู่คงรูป จากนั้นจึงนำไปเผาในเตาเผาเพื่อความทนทานแข็งแรง แล้วจึงนำมาลงสีเคลือบแต่งลวดลาย ซึ่งกว่าจะทำสำเร็จแต่ละใบต้องใช้ความพยายามสุงมาก ตลอดจนการอดทนรอคอยความสำเร็จ จะเห็นได้ว่าต้องใช้เวลาขนาดไหน นี่แหละที่เขาเรียกว่า ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น และสิ่งที่ได้ก็คือความภาคภูมใจของคนเหล่านั้นที่ได้ถ่ายทอดงานฝีมือ แบบช่างศิลป์หรือช่างปั้นที่ทรงคุณค่ามากมายมหาศาลไว้กัยสิ่งที่เรียกว่า เครื่องปั้นดินเผาของเขาเหล่านั้น

ผู้ถ่ายภาพ : นางวันเพ็ญ เกิดมณี
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : จ.สุโขทัย
เทคนิค : Cannon ESOS5 เลนส์ 70-200 F8 ความไวชัตเตอร์ 1/60 ฟิล์มโกดัก 100

ปัดฝุ่น (Cleaning)

223-149

คำอธิบายภาพ :

หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผามอญโบราณ หรือกวามอาม่าน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงของ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งชาวบ้านส่วนมากจะมีบรรพบุรุษเป็นชาวมอญ มีการดำรงชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นแบบมอญ อุตสาหกรรมที่สำคัญในครัวเรือนคือ การทำเตรื่องปั้นดินเผานานาชนิด เช่น กระถาง โอ่ง อ่าง ไห ฯลฯ

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวกานต์สิริ สุกมลานันท์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
เทคนิค : กล้อง Pentax เลนส์ zoom 28-105 m. F4.5 speed 1/60 sec ฟิล์มโกดัก E 100 vs วัดระบบ spot

ในอ้อมกอดแม่

223-148

คำอธิบายภาพ :

งานปั้นดินเป็นอาชีพที่หมู่บ้านเชียงทำกันอย่าง แพร่หลาย และมีสินค้านานาชนิดที่ติดตลาดส่งออก และในประเทศ งานฝีมือตกแต่งก็ได้นายช่างที่เป็นแรงงานสตรีที่มีฝีมือในการทำอย่างแม่ลูก อ่อนคนนี้

ผู้ถ่ายภาพ : บุญมี ถนอมสุขสันต์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : สถานที่ หมู่บ้านเชียง จ.นครราชสีมา
เทคนิค : กล้อง Cannon EOS5 เลนส์ 28-135 mm. F8 S 1/15

ปั้นหม้อ (Hand Made)

223-147

คำอธิบายภาพ :

หม้อ ภาชนะที่ใช้บรรจุน้ำหรือสิ่งของต่างๆมีหลากหลายรูปแบบลักษณะ และการปั้นหม้อโดยใช้ดินเผาเป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ความอุตสาหะ กว่าจะปั้นหม้อได้แต่ละใบ กว่าจะทำได้สวยงามไม่บิดเบี้ยว โค้งไม่เป็นรูปทรง ต้องลองผิดลองถูก การปั้นหม้อเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน นี่คือวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงไทยกมู่บ้านสะเหรี่ยง จ.สุโขทัย หมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาได้อย่างมีคุณภาพและสวยงาม เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย พึ่งตัวเองตามหลักเศรฐกิจพอเพียง พออยู่ พอกิน ไม่ฟุ่มเฟือย ขยันขันแข็งทำงานหนักอดทน สร้างผลิตผล สร้างงานคุณภาพให้สมกับหญิงไทยยุคเศรฐกิจพอเพียง สร้างงานหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งหมู่บ้าน

ผู้ถ่ายภาพ : ประกายดาว วุฒิชัย
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : จ.สุโขทัย
เทคนิค : กล้อง F 801 S ความไวชัตเตอร์ 125 F8

บรรจงแต่ง

223-146

คำอธิบายภาพ :

จุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพนี้ต้องการบ่งบอกถึงความ พยายามของผู้หญิงไทยที่ใช้ความสามารถและความประณีตปั้นแต่งหม้อ ที่เข้าเหล่านั้นต้องใช้แรงกาย แรงใจในการปั้น ความมีสมาธิใจเย็น จิตใจจดจ่ออยู้กับงาน เพราสมัยก่อนนั้นคนไทยเรามีอาชีพในการทำงานฝีมือมากมาย อย่างเช่น การปั้นหม้อเป็นอาชีพของคนไทยแต่โบราณที่ถ่ายทอดต่อๆกันมาจนเป็นอาชีพใน ปัจจุบัน ทำให้เ)นเอกลักษณ์ที่ยังคงหาดูได้ยาก วิถีชีวิตเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไทย ถ้ายังได้รับความสนใจและความศรัทธาในงานศิลป์เหล่านี้ ข้าพเจ้าถ่ายทอดภาพนี้ด้วยการให้เห็นถึงการทำงานของผู้หญิงไทย ซึ่งกำลังปั้นแต่งหม้อให้มีรูปทรงที่ต้องใช้ความประณีตและความีสมาธิ ข้าพเจ้าได้ใช้ส่วนประกอบภาพ คือผู้หญิงที่กำลังปั้นหม้อ และหม้ออีกไม่กี่ใบให้รู้ว่าการทำหม้อต้องทำอย่างไร เมื่อเสร็จจากการปั้นหม้อแล้วต้องนำหม้อที่ได้รูปทรงออกมาตากแดดให้แห้งจน อยู่ทรงคงรูป จากนั้นจึงจะนำไปเผาในเตาเผาเพื่อความทนทานแข็งแรงของหม้อ แล้วจึงจะมาลงเคลือบสีแต่งลวดลาย ซึ่งกว่าจะทำเสร้จแต่ละใบต้องใช้ความพยายามสูงมาก ตลอดจนการอดทนรอคอยต่อความสำเร็จ จะเห็นได้ว่าต้องใช้เวลาขนาดไหน นี่แหละที่เขาเรียกว่าความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น และสิ่งที่ได้ก็คือ ความภาคภูมใจของคนเหล่านั้นที่ได้ถ่ายทอดงานฝีมือแบบช่างศิลป์หรือช่างปั้น ที่ทรงคุณค่ามากมายมหาศาลไว้กับเครื่องปั้นดินเผา

ผู้ถ่ายภาพ : นายธงชัย พุ่มโพธิ์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : จ.สุโขทัย
เทคนิค : กล้อง Cannon EOS5 เลนส์ Sigma 70-300 F8 ความไวชัตเตอร์ 1/125 ฟิล์มโกดัก 100

แม่ลูกผูกพัน

223-145

คำอธิบายภาพ :

หญิงไทยนั้นนอกจากจะต้องทำงานบ้าน งานเรือนแล้วยังจะต้องช่วยครอบครัวทำมาหากินอีกด้วย หลังจากหุงหาอาหารและทำความสะอาดบ้านเรือน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม วิถีชีวิตของหญิงไทยส่วนมากจะดูแลลูกของตนอีก บางครั้งงานอาชีพในร่มก็สามารถทำให้เธอนำลูกมาอยู่ในบริเวณทำงานอีกด้วย ซึ่งเราจะพบสภาพเช่นนี้ได้ดดยทั่วไป

ผู้ถ่ายภาพ : จันทรา พราหมณ์แก้ว
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 2 พฤศจิกายน 2543 สถานที่ จ.นครราชสีมา
เทคนิค : กล้อง Nikon F5 รูรับแสง F 5.6  ความเร็ว 1/60 ฟิล์มฟูจิ Velvia

บรรจงปั้น

223-144

คำอธิบายภาพ :

จุดมุ่งหมายของการถ่ายภาพนี้ต้องการบ่งบอกถึงความ พยายามของหญิงไทยที่ใช้ความสามารถและความประณีต ปั้นแต่งหม้อ ที่เขาเหล่านั้นต้องใช้แรงกายและแรงใจในการปั้น ความมีสมาธิใจเย็น จิตใจจดจ่ออยู่กับงาน เพราะสมัยก่อนนั้นคนไทยเรามีอาชีพในการทำงานฝีมือมากมาย อย่างเช่น การปั้นหม้อ เป็นอาชีพของคนไทยแต่ดบราณที่ถ่ายทอดต่อๆกันมาจนเป็นอาชีพในปัจจุบัน ทำให้เป็นเอกลักษณ์ที่ยังคงหาดูได้ยาก วิถีชีววิตเหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งความเป็นไทย ถ้ายังคงได้รับความสนใจและความศรัทธาในงานศิลป์เหล่านี้ ข้าพเจ้าถ่ายทอดภาพนี้ด้วยการให้เห็นถึงการทำงานของผู้หญิงไทย ซึ่งกำลังปั้นแต่งหม้อให้มีรูปทรงที่ต้องใช้ความประณีตและความีสมาธิ ข้าพเจ้าได้ใช้ส่วนประกอบ คือ ผู้หญิงที่กำลังปั้นหม้อต้องทำอย่างไร เมื่อเสร็จจากการปั้นหม้อแล้วต้องนำหม้อที่ได้รูปทรงออกมาตากแดดให้แห้งจน อยู่ทรงคงรูป จากนั้นจึงจะนำไปเผาในเตาเผาเพื่อความทนทานแข็งแรงของหม้อ แล้วจึงจะมาลงเคลือบสีแต่งลวดลาย ซึ่งกว่าจะทำเสร้จแต่ละใบต้องใช้ความพยายามสูงมาก ตลอดจนการอดทนรอคอยต่อความสำเร็จ จะเห็นได้ว่าต้องใช้เวลาขนาดไหน นี่แหละที่เขาเรียกว่าความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น และสิ่งที่ได้ก็คือ ความภาคภูมใจของคนเหล่านั้นที่ได้ถ่ายทอดงานฝีมือแบบช่างศิลป์หรือช่างปั้น ที่ทรงคุณค่ามากมายมหาศาลไว้กับสิ่งที่เรียกว่า เครื่องปั้นดินเผาของเขาเหล่านั้น

ผู้ถ่ายภาพ : นายเชาวลิต พุ่มโพธ์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : จ.สุโขทัย
เทคนิค : กล้อง Cannon EOS5 เลนส์ Sigma 70-300 F8 ความไวชัตเตอร์ 1/125 ฟิล์มขาวดำ llford

หญิงชรากับภูมิปัญญาไทย (An Old Woman & Wisdom)

223-143

คำอธิบายภาพ :

เป็นผู้สร้างและสืบสานงานศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ดินเป็นเครื่องปั้น อันงดงาม ท่านคือหนึ่ง..ในสยาม นามป้ากลึง บ้านทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัยเป้นแหล่งอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่มีกรรมวิธีการผลิตแตกต่าง ไปจากที่อื่นๆ กล่าวคือ เครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวงจะไม่มีการเคลือบผิว ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นเฉพาะถิ่น การทำเครื่องปั้นดินเผาของชาวบ้านทุ่งหลวงนั้นได้สืบทอดมาเป็นเวลายาวนาน หลายชั่วอายุคน การทำเครื่องปั้นดินเผาในอดีตจะใช้วิธีปั้นหรือตีเป็นหลัก ไม่มีการใช้เครื่องทุ่นแรงด้านเทคโนโลยีเหมือนปัจจุบันนั่นแสดงให้เห็นว่า ดารทำเครื่องปั้นดินเผาในอดีตเกิดจากการใช้ภูมปัญญาอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังมีกลุ่มที่ต้องการอนุรักษณ์วิธีการทำ เครื่องปั้นดินเผาในกรรมวิธีแบบดั้งเดิมไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวของคุณยายกลึง รักทุ่ง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันสามคนพี่น้อง ปัจจุบันคุณยายกลึง รักทุ่ง อายุ 81 ปี แต่สุขภาพกายและใจของคุณยายยังสมบูนณ์แข็งแรงเป็นอย่างดี คุณยบายกลึงเป็นผู้มีอัทยาศัยดีมาก จนเป็นที่รักใคร่ของคนในหมู่บ้านและนักท่องเที่ยว คุณยายเล่าให้ฟังว่า ต้องนำดินที่มีคุณสมบัติพิเศษเหมาะกับการปั้น นำมาทุบเป็นก้อนเล็กๆ จากนั้นนำไปหมักแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำมานวดให้เป็นเนื้อเดียวกันจนดินมีความเหนียวพร้อมที่จะนำไปนั้น โดยแบ่งเป็นก้อนตามขนาดที่ต้องการ อุปกรณ์ในการปั้นจะมีดินกลมใช้สำหรับเป็นที่รองตี ไม้ใช้สำหรับในการตีขึ้นรูป หรือเรียกว่า “รีดดิน” แต่เดิมการปั้นจะปั้นเป็นภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตุ่มน้ำ แจกัน ตลอดจนเครื่องใช้อื่นๆ การขึ้นรูปภาชนะที่มีทรงกลม โดยใช้ไม้และดินตีให้เรียบ ให้มีขนาดเท่าส่วนที่เป็นปาก จากนั้นนำมาตกแต่งลวดลายเพื่อเพิ่มความสวยงาม หลังจากนั้นรอจนกว่าภาชนะที่ปั้นเสร็จแล้วแห้งสนิทและเมื่อมีจำนวนมากพอก็จะ นำเข้าเตาเผา สำหรับขั้นตอนการเผานิยมใช้ฟางและฟืน โดยนำมาวางเรียงทับกันเป็นชั้นๆแล้วใช้ขี้เท่าโรยกลบให้ทั่วเพื่อไม่ให้ไฟ ไหมเร็วเกินไป เวลาเผา 2 วันก็จะได้ภาชนะที่เสร็จสมบูรณ์ ในปัจจุบันบ้านทุ่งหลวงได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผา โดยใช้ชื่อกลุ่มว่าผู้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรม ในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนารูปแบบเทคนิคการผลิต ตลอดจนพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น และยังสนับสนุนให้บ้านทุ่งหลวงเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสุโขทัย

ผู้ถ่ายภาพ : นายมนตรี ศรีคล้าย
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 16 กันยายน 2544 เวลา 11.20 น. บ้านคุณยายกลึง รักทุ่ง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
เทคนิค : Nikon FM2 เลนส์ Sigma 28-70 mm. หน้ากล้อง 4 ความเร็ว 60 ใช้แฟลต