นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
ผู้หญิงกับวิถีชีวิตไทย

ตลาดน้ำ 1 (Floating Market 1 )

223-87

คำอธิบายภาพ :

ตลาดน้ำดำเนินสะดวกหรือตลาดน้ำลัดพลี ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวกไป 400 เมตร เป็นตลาดค้าขายทางน้ำที่ยังคงวิถีชีวิตไทยเดิมไว้ มีสิ่งของให้เลือกมากมาย ดดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร

ผู้ถ่ายภาพ : ด.ญ.ศุรวีร์ สุขพร
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
เทคนิค : กล้อง Minolta 600 si เลนส์ 35-70 mm. ตั้งกล้องระบบออโต้(P) ฟิล์มสีโกดัก

น้ำนมแม่ (ดีที่สุด) (Pure Milk)

223-80

คำอธิบายภาพ :

ทุกๆคน เมื่อครั้งยังเป็นทารกย่อมได้ดื่มน้ำนมที่มีประโยชน์สูงกว่าน้ำนมใดๆนั่นก็ คือ น้ำนมแม่ นั่นเอง มีคุณค่าครบถ่วนจากแร่ธาตุหลายชนิด อีกทั้งภูมคุ้มกันโรคต่างๆจากแม่สู่ลูกน้อย ซึ่งน้ำนมชนิดอื่นๆไม่มี ทารกจึงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ แม้แต่ชาวเขาที่อยู่ไกลยังนู่จักคุณค่าของน้ำนม ดังเช่นในภาพนี้ต้องมาให้นมลูกกลางแสงแดดอ่อนๆยามเช้าเพราะอากศที่หนาวเหน็บ บนยอดดอย แต่เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกแม่ก็ทนได้

ผู้ถ่ายภาพ : นายวสันต์ สร้อยมาลา
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : ธันวาคม 2543 สถานที่ จ.เชียงราย
เทคนิค : Cannon EOS5 เลนส์ 28-105 มม. F3.5-4.5 speed 1/90 วินาที F 4.5 ฟิล์มฟูจิ Velvia

น้ำนมแม่

223-77

คำอธิบายภาพ :

น้ำที่มีประโยชน์ มีคุณค่า มีวิตามิน มีเชื้อสายสัมพันธ์ มีความรัก มีความผูกพันธ์ ไม่มีน้ำชนิดใดเปรียบเทียบได้ และมีคุณค่าเสมอสำหรับคำว่า “ลูก” น้ำที่กล่ามาก็คือ “น้ำนมแม่” แม่ลูกอ่อนวัย 19 ปี ลูกอ่อนวัย 6-7 เดือนกำลังดูดนมอย่างมีความสุข อารมณ์แม่ก็สุขตามไปด้วย

ผู้ถ่ายภาพ : กมล หวังนิเวศน์กุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : จ.เชียงราย
เทคนิค : กล้อง Nikon F45 เลนส์ นิคอน AF80-200/2.8 ED-D รูรับแสง 2.8 ชัตเตอร์ 1/60 วินาที ฟิล์มฟูจิ 100ASA

คุณค่าและความงดงามแห่งวิถีชีวิตหญิงไทย (The Value and Beauty for Thai Woman Life Style)

223-75

คำอธิบายภาพ :

มีคำภาษิตในสมับโบราณของชาวอิสานกล่าวไว้ว่า “ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮือนเพาะพอลี้อยู่ ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง นอนลี่อยู่เป็น” เป็นผญาภาษิตที่สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติและแนวคิดในการดำเนินชีวิตของชาวอิ สานในสมัยดบราณที่ให้ความสำคัญกับ ข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต รองลงมาคือ เสื้อผ้า และที่อยู่อาศัย ในการดำเนินชีวิตนั้นได้มีการแบ่งแยกหน้าที่ทางสังคมให้ผู้ชายซึ่งทำหน้าที่ พ่อบ้าน เป็นผู้ทำการเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ต่างๆ ตลอดจนการจัดหาข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงดูครอบครัว ส่วนผุ้หญิงเป็นแม่บ้านนั้นจะทำหน้าที่ในการเลี้ยงดูลูก ดูแลเรือนและทำเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มให้กับคนในครอบครัวได้ใช้ดำเนินชีวิตประจำวันและใช้ใน พิธีกรรมงานบุญต่างๆ ซึ่งหน้าที่ของการทำและจัดเตรียมเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มนั้นก็ตกเป็นของผู้หญิงที่เป็นแม่บ้านจนเรื่อยมาจนกลายเป็น วัฒนธรรมอย่างหนึ่งของอิสานที่เรียกว่า “การต่ำหูกผูกทอผ้า” ซึ่งการต่ำหูกทอผ้านั้นถือว่าเป็นหน้าที่หลักของผู้หญิงที่เหมือนว่าสังคมจะ เป็นผู้กำหนดให้เป้นหน้าที่ของแม่บ้านหญิงไทย ดดยมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมการต่ำหูกทอผ้า เป็นการเตรียมลูกสาวหลานสาวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติ ได้รับการยอมรับจากผู้คนในชุมชนและต่างถิ่น ตลอดจนเป็นการเตรียมลูกผู้หญิงให้เป็นแม่บ้านที่ดีต่อไป สำหรับในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมการต่ำหูกทอผ้าก็ยังคงสืบทอดและปรากฏให้เห้นได้ ตามท้องถิ่นต่างๆในชนบท ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นไทยและคุณค่าความ งดงามของหญิงไทยในปัจจุบันที่ยังคงสืบทอดและรักษาวัฒนธรรมอันดีงามนี้เอาไว้ อันเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของหญิงไทยทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตสืบไป

ผู้ถ่ายภาพ : นายศุภรัก สุวรรณวัจน์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 13 มีนาคม 2542 เวลา 10.30 น. บ้านโนนสำราญ ต.วังไชย อ.บรบือ จ.มหาสารคาม
เทคนิค : เลนส์โฟกัสยาว ยี่ห้อ Carl Zeiss ขนาด 135 มม. ช่องรับแสง 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/125 s. ฟิล์ม Kodak Tmax 100 ขาวดำ

ผ้าไทย ร้อยเรียงเส้นสาย (Textile Creature)

223-74

คำอธิบายภาพ :

การตัดทอผ้าไทย แสดงถึงภูมิปัญญาแห่งลวดลายของเส้นด้าย โดยการทอแบบดั้งเดิม เป็นการสืบสานสายใยแห่งวัฒนธรรมที่เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของหญิงไทยบน พื้นฐานแห่งคุณค่าของวัฒนธรรม

ผู้ถ่ายภาพ : ญาณวุฒิ โปซิว
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : มิถุนายน 2543 เวลา 10.00 น. อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
เทคนิค : เลนส์ 80-105 mm. ความไวชัตเตอร์ 125 เลนส์ Normal Zoom F-stop 5.6 ฟิล์ม ขาวดำ SAS100

ตั้งใจสอน ลูกๆหลานๆตั้งใจดู

223-73

คำอธิบายภาพ :

การทอผ้าไหมที่ทอกันมานานจนถึงลูกหลานสืบทอดกันมาเป็นทอดๆ ผาไหมเป็นผ้าที่ขึ้นชื่อของประเทศไทยและของโลกก็ว่าได้

ผู้ถ่ายภาพ : เกียรติศักดิ์ หวังนิเวศน์กุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : -
เทคนิค : กล้อง Nikon F801S เลนส์ นิคอน AF80-200/2.8 ED-D รูรับแสง F5.6 ชัตเตอร์ 1/60 วินาที ฟิล์ม ASA 100

แม่อุ้ย

223-72

คำอธิบายภาพ :

แม่อุ้ย หญิงชราชาวเชียงของปั่นด้ายหลอดหลังเสร็จจากการทำไร่นาสวน หญิงชาวเชียงของส่วนมากที่ยังเข้มแข็งจะมีอาชีพเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยการทอผ้าออกจำหน่าย ซึ่งเป็นผ้าที่มีเอกลักษณ์ของชาวเชียงของเองโดยเฉพาะ

ผู้ถ่ายภาพ : ธนัญ วงษ์กาญจรสกุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : เวลาบ่าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย
เทคนิค : ฟิล์มฟูจิ REP 100 เลนส์ 80-200 F4 ความไวชัตเตอร์ Auto ใช้ขาตั้งกล้อง

จุดเริ่มต้น (Jood-R)

223-71

คำอธิบายภาพ :

ในครั้งอดีตที่ผ่านสมัยโบราณมา บรรพบุรุษไม่นิยมใส่เสื้อกันเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะผู้ชายนิยมใช้ผ้าขาวม้า และนุ่งกางเกงขาสั้น หรือมีบางครั้งอาจใส่เสื้อยันต์ ในการออกรบกับข้าศึก และผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมนุ่งโจงกระเบน และใช้ผ้าคาดหน้าอกส่วนบน และไม่นิยมใส่เสื้อผ้าเหมือนปุจจุบันนัก การที่จะหาผ้ามาตัดกางเกง โจงกระเบน หรือผ้าขาวม้านั้น ไม่นิยมในการซื้อเท่าไหรนัก เพราะบรรพบุรุษของเรามีฝีมือในการถักทอต่างๆมาก และเป็นการสืบทอดวิถีการทอผ้ามาจนปัจจุบันเนื่องจากสมัยก่อนกาล นอกจากการทำไร่นาแล้ว เมื่อพ้นหน้าทำนาเกี่ยวข้าวแล้ว พอมีเวลาก็จะมาทำการทอผ้าเพื่อเอาไว้ใช้สอยและเป็นอีกหนึ่งภูมปัญญาของ บรรพบุรุษแต่ก่อนกาล ที่เอารังของไหมมาต้มและถักทอเป็นผืนเพื่อเก็บไว้ตัดเย็บ ขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากการเลี้ยงไหมโดยใช้ใบของหม่อน เป็นอาหาร เมื่อตัวไหมยังเล็กอยู่เรียกว่า “ดักแด้” เมื่อดักแด้โตขึ้นและพร้อมที่ตัวไหมดักแด้เองจะทำการถักทอรังของดักแด้สัก ประมาณ 3-5 รังที่เป็นเส้นและมารวมกันให้เป็นเส้น ปั่นใส่หูก ซึ่งการปั่นใส่หูกนี้เพื่อการเก็บตัวไหมให้เป็นระเบียบและพร้อมที่จะถักทอ เป็นผ้าผืน แล้วนำไปตัดเย็บต่อไป ปัจจุบัน วิธีการแต่เก่าก่อนสามารถพบเห็นได้ตามจังหวัดภาคอิสานและที่สำคัญ ผ้าไหมของเรายังเป็ฯสินค้าส่งออกซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอีก ด้วย ทำให้ประชาชนมีรายได้ วิธีการแต่เก่าก่อนซึ่งเป็ฯภูมปัญญาของบรรพบุรุษนั้นเราซึ่งเป็ฯชนรุ่นหลัง ซึ่งสมควรให้ความสำคัญและอนุรักษ์เอาไว้และมีการเผยแพร่ สอนให้ชนรุ่นหลังเห็นความสำคัญ ดั่งในรูปซึ่งเป็นการสอนวิธีการปั่นหูกให้หนู๋น้อยวัยเยาว์รู้ถึงวิธีการและ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทย

ผู้ถ่ายภาพ : อัจฉรา กิตติพงศ์สถาพร
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 12 มีนาคม 2543 เวลา 15.30 น. จ.สุโขทัย
เทคนิค : กล้อง Nikon เลนส์ 80-200 F8 Speed 125 ฟิล์มฟูจิ Provia

วงล้อแห่งชีวิต (Whell of Life)

223-70

คำอธิบายภาพ :

จากภาพเป็นขั้นตอน “การปั่นและกรอด้าย” ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเตรียมด้ายที่ใช้ในการทอผ้า แต่เดิมชาวบ้านมีการปลูกฝ้ายเพื่อใช้ในการทอผ้าเอง จึงต้องเปลี่ยนปุยฝ้ายให้เป็นเส้นด้านโดยนำฝ้ายมาหีบเพื่อแยกเมล็ดออกจาก เส้นใย ปุยฝ้ายที่หีบแล้วเส้นใยยังพันกันเป็นกลุ่มๆอัดตัวแน่นต้องนำมาดีดหรือยิง ด้วยกง และไม้ดีดให้ฟู มีน้ำหนักเบาและจับกลุ่มกันได้ขนาดที่สม่ำเสมอ จากนั้นแผ่ลงบนกระดานไม้และม้วนด้วยไม้ล้อ นำม้วนเนื้อฝ้ายที่ทำเป็นล้อมาเข้ากระบวนการสาวและปั่นด้วยอุปกรณ์ที่เรียก ว่า “ไน” ซึ่งมี2ขนาดคือ ไนมีวงล้อใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับกรอด้ายลงหลอดด้ายอันใหญ่ที่จะใช้เป็นด้ายยืน ส่วนไนที่มีวงล้อเล็กกว่าจะทำหน้าที่กรอเส้นด้ายลงหลอดขนาดเล็กที่จะนำ เข้าไปสอดไว้ในรางกระสวยเพื่อทำหน้าที่เป็นด้ายนอน (ด้ายพุ่ง) แม้ในปัจจุบันได้มีการใช้ด้ายสำเร็จรูปในการทอผ้า ก็ยังต้องมีการกรอด้ายลงกระสวยเพื่อใช้ในการทอผ้าต่อไป

งานทอผ้า เปรียบเสมือนวงล้อแห้งชีวิตของผู้หญิง ลักษณะโดยทั่วไปของสังคมเกษตรกรรมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้หญิงจะได้รับบทบาทดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ขณะที่ผู้ชายจะรับผิดชอบในเรื่องของการผลิตเพื่อบริโภค ในอดีตมีการทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน จะทอเหลือไว้สำหรับแลกเปลี่ยนเล็กน้อย ลักษณะเศรษฐกิจแบบยังชีพ การทอผ้าแท้จริงคือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และพิธีกรรมทางผ่านที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของผู้หญิง (Rite of Passage) เด็กหญิงและหญิงสาวต้องเรียนรู้กระบวนการทอผ้าจากแม่ ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือเพื่อนบ้าน วิธีการถ่ายทอดและเรียนรู้โดยการเข้าไปเป็นผู้ช่วยเพื่อเรียนรู้ไปในตัว การสอนแบบบอกเล่าปากเปล่า เรียนรู้จากการสังเกตแม่หรือญาติผู้ใหญ่ในการทอผ้าอยู่เรื่อยๆ ในอดีตจะเห็นญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านที่ผ่านไปผ่านมาอาจเข้ามาช่วยหยิบแยก เมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้ายขณะที่เจ้าของกำนันหีบฝ้ายอยู่หรือนั่งพูดคุยกันขณะ นั่งกรอด้าย ซึ่งประโยชน์ทางอ้อมคือหญิงสาวอาจได้รับการอบรมสั่งสอนหรือเรียนรู้วัฒนธรรม ด้านอื่นๆไปพร้อมกัน ผู้หญิงเริ่มต้นการเรียนรู้การทอผ้าตั้งแต่วัยเด็กควบคู่ไปกับการเรียนรู้ งานบ้านต่างๆ เมื่อเติบโตเป็นหญิงสาวจะต้องทอผ้าเตรียมไว้ใช้ในพิธีแต่งานอาทิ เครื่องแต่งกายสำหรับพิธีแต่งงานทั้งของตนเองและของเจ้าบ่าว รวมทั้งเครื่องใช้ต่างๆในการออกเรือน ผ้าเหล่านี้จะทอกันอย่างปราณีตสุดฝีมือ และจะเก็บรักษาไว้อย่าดี ภายหลังการแต่งงานต้องทอผ้าเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และใช้สอยในงานประเพณี จนถึงวัยชราต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าให้แก่ลูกหลาน นอกจากนี้ กระบวนการทอผ้าของผู้หญิงยังเป็นช่องทางหรือกลไกลที่สังคมและวัฒนธรรมเปิด ไว้สำหรับผู้หญิงให้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเข้าไปมีบทบาทในด้านต่างๆ เช่น เศรฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนาร่วมกับผู้ชายในชุมชน

การทอผ้าเป็นส่วน หนึ่งของการผลิต การจำหน่าย และการบริโภค ระบบเศรฐกิจในชุมชนวังหลุมพอง ซึ่งเป็นอีกชุมชนหนึ่งซึ่งหนีไม่พ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากการประทะสังสรรค์กับโลกภายนอกอยู่ตลอดเวลา การเกิดค่านิยมแนวอนุรักษณ์งานหัตกรรม ทำให้ผ้าทอพื้นเมืองขึ้นมามีบทบาทในฐานะอาชีพเสริมของชาววังหลุมพอง การทอผ้าแบบกี่มือแบบพื้นเมืองไม่อาจจะทอได้ทันกับความต้องการของตลาดจำเป็น ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมการทอผ้าเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก นั่นคือการทอผ้าแบบกี่กระตุกที่สามารถทอได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้การทอผ้าเป็นกิจกรรมที่กระทำได้ตลอดทั้งปี นั่นหมายถึงรายได้ที่พวกเข้าได้รับสูงขึ้น ความสัมพันธ์ในแง่การผลิตแบบใหม่นี้ พบว่ามีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมของงาน ขั้นตอนการผลิตแบ่งออกเป็นส่วนๆซึ่งเป็นหน่วยที่ชัดเจนเหมือนการแบ่งฝ่ายการ ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยการผลิตเบ็ดเสร็จแบบดั้งเดิม บางครอบครัวจะรับหน้าที่ในการกรอด้ายเพียงอย่างเดียว บางครอบครัวจะรับหน้าที่ค้นด้ายและขึ้นเครือเพื่อขึ้นด้ายยืน ส่วนการทอซึ่งเป็นส่วนที่ซับซ้อนน้อยที่สุดสามารถกระทำได้ทุกครอบครัว

ผู้ถ่ายภาพ : อรวรรณ ทับสกุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : มีนาคม 2544 บ้านวังหลุมพอง ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
เทคนิค : กล้อง Nikon FM2 เลนส์ Zoom-Nikon 80-200 มม. ตั้งซูม 80 มม. F/4 ,1/30 วินาที ฟิล์มโกดัก EB-2 ISO 100

ทำตามอย่าง (Learning)

223-69

คำอธิบายภาพ :

ผู้หญิงกับการแต่งกายเป็นของคู่กันทั้งโลกจนมีคำ กล่าวที่ว่า ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง จึงเป็นสุภาษิตที่จริงแท้แน่นอน โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นเพศที่เกิดมาเพื่อแต่งตัวให้งามดดยเฉพาะและสิ่งที่ เป็นความงามอย่างเด่นชัดคือเสื้อผ้าอาภรณ์ประดับกายนั่นเอง ซึ่งต้องทำมาจากผ้าและผ้าในสายตาของคนทั่วไปอาจเป็นสิ่งที่ประดับกายนั่นเอง โดยเฉพาะเมื่อนำผ้ามาดัดแปลงเพิ่มเติมลักษณะของการใส่สี เติมลวดลาย แปรสภาพออกไปในรูปแบบต่างๆ ตามความคิด รวมถึงการใช้เทคนิคอื่นๆเข้ามาผสมประสานตามจินตนาการของผู้สร้างงานเท่าที่ จะสื่อออกมาได้ จึงเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนขึ้น จากธรรมชาติที่เห็นในแต่ละท้องถิ่นนั้นๆ ในรูปแบบที่ดูแล้วสบายตานำมาสร้างงานและเพื่อเผยแพร่สิ่งที่ดีมีความแปลก ใหม่ให้แก่ผู้อื่นได้เห็นได้ประจักษ์ และที่กล่าวมาจะเป็นความคิดของคนหลายคนใหม่ และสมควรจะยกระดับของคำว่าผ้า เป็นสิ่งที่หรูควรค่าแก่การรักษาและนำมาใช้ ยิ่งผ้าที่ผ่านการตกแต่งในรูปโฉมต่างๆให้มีความงดงาม ด้วยเส้นเทียบจากปลายพู่กันตามด้วยสีสันที่สามมารถสะกดผู้พบเห็น หรือการพิมพ์จากแม่พิมพ์สำหรับความต้องการที่จะใช้ลวดลายนั้นมากๆ คำว่า “บาติก” หรือ “ปาเต๊ะ” เดิมเป็นคำในภาษาชวาใช้เรียกชื่อผ้าที่มีจุดๆและคำว่า “ติก” มีความหมายว่า “เล็กน้อย” ดังนั้นจึงมีความหมายว่า ผ้าที่มีลวดลายเล็ๆเป็นจุดๆต่างๆ ผ้าบาติกเป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิดและความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่น มีความปราณีต ความวิจิตรบรรจง ซึ่งแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้ปรากฎบนผืนผ้า ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะทำใช้เองได้ โดยไม่ต้องไปซื้อหานอกจากนี้ยังทำเป็นของขวัญ ของที่ระลึก ทำให้เกิดความภาคภูมใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

ผู้ถ่ายภาพ : นายมานิต ลาภลือชัย
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : -
เทคนิค : -