นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

ฉันทำได้

223-59

คำอธิบายภาพ :

ชีวิตคนเราไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลกก็ต้องต่อสู้ ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของชีวิตและครอบครัว ดังเช่นผู้หญิงในภาพนี้ก็ต้องต่อสู้เช่นกัน อาชีพหลักทำไร่ข้าว ไม่มีอาชีพเสริมใดที่จะทำรายได้เลี้ยงครอบครัวให้ลูกมีอาหารดีๆทาน มีเสื้อผ้าใส่ มีรองเท้าสวมใส่ ในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ หรือช่วงฤดูหนาวของทุกปี จะมีดอกก๋งบาน (หญ้าทำไม้กวาด) ดอกก๋งจะออกดอกบานอยู่บนยอดดอยสูงชัน และเป็นป่ารกชัด พวกเธอเหล่านั้นจะบุกขึ้นไปตัดเก็บดอกก๋งกองไว้เป็นจุดๆ เมื่อได้มากแล้ว ก็นำมารวมกันมัดให้ดีแล้วนำมาแบกไว้บนหลัง ใช้เชือกคล้องไว้บนหัวรับน้ำหนักแบกลงมาจากยอดดอยที่สูงชัน (ภูเขา) จากบนยอดดอยถึงบ้านระยะทาง 10-15 กิโลเมตร น้ำหนักที่แบก 15-30 กิโลกรัม เมื่อแบกมาถึงบ้านแล้วตอนกลางคืนก็นำก๋งที่เก็บได้มาหักกิ่งดอก๋ง ส่วนก้านดอกก็เอาทิ้งไป เมื่อหักดอกก๋งแล้ว พอเช้าวันรุ่งขึ้นจะมาตากแดด 1 วัน พอตอนเย็นตากได้ที่แล้วก็นำดอกก๋งออกมาทุบตีให้เมล็ดดอกก๋งออกให้เหลือแต่ เส้นกิ่งที่ใช้ทำไม้กวาด การเก็บก๋งแต่ละครั้งเมื่อหักกิ่งและนำมาตากตีเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเหลือ เพียง 1/2 (ครึ่งหนึ่ง) ของมัดที่แบกมาเท่านั้น และจะมีคนมารับซื้อกิโลกรัมละ 10-20 บาท แล้วแต่ตลาดรับซื้อ ตั้งราคาเองไม่ได้ จะทำไม้กวาดขายเองก็ไม่ได้ ทำไม่สวยเพราะขาดความชำนาญ แต่ถ้าหากทำได้ดี สวยงาม ก็ขายเฉพาะในหมู่บ้านเท่านั้น ไม่สามารถนำมาขายข้างล่างได้ การคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควร การต่อสู้ชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นบอกว่า “ฉันทำได้ หนักอย่างไงฉันก็ทำได้ ถ้าทำแล้วได้เงินมาซื้ออาหารให้ลูกๆได้กิน ยามเจ็บป่วยมีเงินไปหาหมอ เท่านั้นฉันก็พอใจแล้ว”

ผู้ถ่ายภาพ : ธีรภรณ์ วงศ์สิงห์ขันธ์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : บนยอดดอย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
เทคนิค : -

Comments are closed.