นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

ผู้หญิงกับการแกะสลักตัวหนัง (Working Woman)

223-63

คำอธิบายภาพ :

ตัวหนัง หรือจะเรียกเต็มศัพท์ก็คือ ตัวหนังตะลุงที่ใช้เล่นในงานรื่นเริงของชาวปักษ์ใต้ในประเทศไทยเรา ซึ่งการเล่นหนังตะลุงนี้มีการเรยกชื่อได้หลายอย่าง เช่น การแสดงหนังหรือการเล่นเงา (shadow play) หมายถึงการแสดงที่ใช้หนังสัตว์ เช่น หนังวัว หนังควาย หนังเก้ง หนังกระจง หรือสัตว์อื่นๆมาแกะเป็นรูปตัวละครต่างๆและมีก้านไม้ต่อมาจากตัวหนังสำหรับ คนเชิด เล่นตามบทบาทที่อยู่ด้านหลังจอ โดยใช้แสงไฟให้ปรากฏภาพการแสดงบนจอซึ่งมีคนคอยดูอยู่ด้านหน้าจอ การแสดงหนังดังกล่าจจะต้องมีบทพากษ์ บทสนทนาและดนตีประกอบการเชิดเพื่อเพิ่มความสนุกสนานให้กับผู้ชม ผู้หญิงกับการแกะสลักตัวหนังนับว่าเป็นของคู่กันทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้ หญิงเป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อนเป็นธรรมชาติคู่ตัวอยู่แล้ว จึงทำให้แกะสลักได้งดงามอ่อนช้อยน่าดูมาก ซึ่งกรรมวิธีการแกะสลักตัวหนังตะลุงเริ่มด้วยการนำหนังสัตว์ไปแช่น้ำปูนขาว หรือน้ำเกลือเพื่อให้หนังนิ่มแล้วนำไปใส่สะดึงขึงให้ตึง เมื่อแผ่นหนังจวนแห้งสนิทใช้เหล็กหรือกะลามาพร้าวขูดเอาผังผืดและขนออกทั้ง สองด้านให้มองดูโปร่งแสง เมื่อหนังแห้งดีแล้วจะใช้ถ่านกะลามะพร้าว หรือถ่านใบลำโพงดำละลายน้าทาให้ทั่ว แผ่นหนังจึงมีสีดำแล้วจึงเริ่มร่างภาพตัวหนังที่ต้องการ ซึ่งอาจจะร่างแบบบนผ้าขาวหรือกระดาษ และนำไปปิดบนแผ่นหนังแกะสลักตามรอยร่างโดยใช้ตุ๊ดตู่ หรือสิ่วหน้าต่างๆ เมื่อได้ตัวหนังตะลุงแล้วต้องใช้ไม่ไผ่ประกบสำหรับเชิด และไม้ชักให้แขนหมุนเคลื่อนไหว ถ้าเป็นตัวตลกจะมีไม้ชักสำหรับอ้าปากพูด ตัวหนังตะลุงหนึ่งมีขนาดประมาณ 1-2 ฟุต สำหรับรูปตัวสำคัญบางตัวอาจใช้หนังฝ่าเท้าของผู้ที่นับถือหรือหนังวัวที่ตาย อย่าผิดปกติ เช่น ฟ้าผ่าตาย หรือออกลูกตามมาประดิษฐ์ ส่วนตัวตะลกนิยมใช้หนังอวัยวะเพศชายมาติดริมฝีปากล่าง ตามเคล็ดว่าให้ตลกถูกใจคนดู รูปหนังตะลุงในปัจจุบันหากเป็นตัวไม่สำคัญจะนิยมใช้เซลลูลอยด์ หรือพลาสติก แทนหนังสัตว์ ลวดลายจึงไม่ละเอียดเท่าหนังจริง การประดิษฐ์รูปหนังมีการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสังคมนิยมของชาวบ้านจึงมีการ สร้างรูปหนังใหม่ๆออกมาอีกมากมายเช่น รูปเจ้าเมือง มนุษย์ ยักษ์ โจร ต้นไม้ เรือ รถไฟ ปราสาท และสัตว์ต่างๆ เป็นต้น สีของหนังตะลุงมีหลายสีทั้งขาว ดำ เขียว เหลือง แดง ซึ่งแต่เดิมใช้สะรรมชาติจากคลั่งมะเกลือ ขมิ่น และชาด ปัจจุบันใช้สีและน้ำยาเคลือบที่ทำมาจากดรงงาน และนิยมภาพเงาสีสดใส โดยเอารูปหนังแช่น้ำยาฟอกขาว แล้วใช้สีน้ำมันระบายซึ่งเป็นวิวัฒนาการของการประดิษฐ์ตัวหนัง จึงนับว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความอดทนและมานะพากเพียรเป็นอย่างสุง สมควรที่จะกล่าวได้ว่า หญิงไทยเป็นศิลปินคนหนึ่งที่มีค่าคู่ควรกับประเทศไทยอย่างยิ่ง

ผู้ถ่ายภาพ : นายสมศักดิ์ เพชรพินิจวงศ์
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 10 ธันวาคม 2542 จ.พัทลุง
เทคนิค : กล้อง Nikon F3 HP เลนส์ 105 มม. ความไวชัตเตอร์ 1/125 วินาที หน้ากล้อง 5.6 ฟิล์มสไลด์ฟูจิ 100 D

Comments are closed.