นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

รำไทย (Rum-Thai)

223-125

คำอธิบายภาพ :

การเล่นละครมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ส่วนมากนิยมเล่นในงานราชพิธีต่างๆและเรื่องราวที่จะเล่นนั้น ก็จะเล่นไปทางวรรณคดีไทย ในบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 อาทิเช่น อิเหนา เงะป่า รำฉุยฉาย ซึ่งการเล่นละครมาระยะหลังนี้ ได้มีการแปลงจากการเล่นละครที่ต้องใช้ตัวละครมากมายเป็นรำไทย ดดยการยึดถือรูปแบบของละครเป็นหลัก แต่ใช้คนรำน้อยกว่า โดยมีตัวละครรำหลักคือ ตัวพระ ตัวนาง ซึ่งสังเกตได้จากการแต่งกาย การแต่งกายนั้นจะใช้เวลานานมาก ต้องมีการเย็บเข้ารูป ปัจจุบันการรำไทยนั้นนิยมใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง ซึ่งจะได้ความอ่อนช้อยทั้งตัวพระและตัวนาง และนิยมรำกันในงานพิธีต่างๆ บางครั้งการรำไทยก็ไม่ได้เล่นเป็นเรื่องตามวรรณคดีดดยมีการดัดแปลงให้ สอดคล้องกับทำนองและท่วงท่า เช่นการรำแก้บน หรือรำเปิดในงานพิธีต่างๆ ปัจจุบันมีโรงเรียนสอนรำไทย เช่น โรงเรียนนาฏศิลป์เป็นต้น จะเห็นว่าหญิงไทยนั้นมีความอ่อนช้อยเป็นทุนเดิม บวกกับการฝึกฝนทำให้สื่ออกมาให้เห็นถึงความสง่างาม เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของศิลปะประจำชาติไทย

ผู้ถ่ายภาพ : กิติ กิตติพงศ์สถาพร
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 13 กรกฎาคม 2544 เวลา 18.00 น. สถานที่ พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ
เทคนิค : เลนส์ 80-200 F8 speed 15 ฟิล์มฟูจิ 400 กล้องนิคอน

Comments are closed.