นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
สีสันแห่งวัฒนธรรม

ยิ้มสยาม (Thai-Smile)

206-54

คำอธิบายภาพ :

เสน่ห์อย่างหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่รู้จัก ของชาวต่างชาติ นั่นคือรอยยิ้ม รอยยิ้มที่สื่อถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยุ่ วิถีชีวิต การเป็นอยู่ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ในรูปแบบของไทย ภูมิประเทศแบบไทย การทำมาหากิน สังคมไทยยังเป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยกัน ยังเป็นครอบครัวใหญ่ ยังมีเพื่อบ้าน ผิดกับต่างชาติที่ต่างคนต่างอยู่ แก่งแย่งกันจนลืมถึงมิตรภาพ ดังนั้นรอยยิ้มและการทักทายอย่างไมตรีจิต จึงเป็นเสน่ห์ สีสัน แห่งวัฒนธรรมของไทย ที่เห็นได้อย่างชัดเจน

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวพจนา สิงห์เดช
สถาบันการศึกษา : คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกทัศนศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ถ่ายเมื่อ : 20 กุมภาพันธ์ 2545 สถานที่ ภูเก็ต (ภูเก็ตแฟนตาซี)
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 50 mm. ชนิดเลนส์ NIKON 50 (NORMAL) ช่องรับแสง B/8 วินาที-11 ความไวชัตเตอร์ B/8 วินาที ประเภทฟิล์ม NEGATIVE 35

ของเล่นงานวัด (Temple’s game)

206-53

คำอธิบายภาพ :

กิจกรรมประจำปีของงานวัดที่ขาดไม่ได้เป็นอย่าง ยิ่ง นอกจากสนุกสนานเพลิดเพลินและยังได้อิ่มเอมกับบุญกุศลที่ได้สร้าให้กับวัด เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของงานวัดที่จัดขึ้นมาเพื่อดึงดูดให้ทั้งเด็กเล็กเด็ก แดงรวมไปถึงผู้ใหญ่ ได้เข้ามาทำกิจกรรมงานบุญร่วมกันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย แต่โบราณที่มีเทศกาลขนทรายเข้าวัด แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้เข้ามามีสีสันในการทำบุญให้กับวัดเรา

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวธนีพรรณ โชติดเสถียร
สถาบันการศึกษา : คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกทัศนศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ถ่ายเมื่อ : 28 มีนาคม 2545 สถานที่ งานวัด-ชัยพฤกษ์มาลา
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 28-80 ชนิดเลนส์ NIKON F80 ช่องรับแสง 8 ความไวชัตเตอร์ B 15 วินาที ประเภทฟิล์ม สไลด์ 135

สังฆทานงานวัด (Temple party)

206-52

คำอธิบายภาพ :

ในหนึ่งปีงานบุญปิดทองฝังลูกนิมิตร และกิจกรรมงานวัดได้จัดขึ้นเพียง 1 ครั้ง เป็นอย่างต่ำเพื่อให้เรา พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสหันหน้าเข้ามาทำบุญให้กับวัดวาอาราม เสน่ห์อย่างหนึ่งที่งานวัดมี คือการละเล่น แต่ความสวยงามของแสงสี ไม่ได้มีเพียงแค่ซุ้มของเล่นเท่านั้น ซุ้มสัฆทาน ทำบุญประจำวัน ยังมาแสงสี และเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมการกราบไหว้ เคารพ บูชา สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ถึงแม่จักขัดแย้ง แต่ก็ออกมาดูกลมกลืนและงดงามในอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นเสน่ห์ของงานวัดเลยทีเดียว

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวธนีพรรณ โชติดเสถียร
สถาบันการศึกษา : คณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกทัศนศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ถ่ายเมื่อ : 28/3/2545 สถานที่ งานวัด-ชัยพฤกษ์มาลา
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 28-80 ชนิดเลนส์ NIKON F80 ช่องรับแสง 3.5 ความไวชัตเตอร์ B 5 วินาที ประเภทฟิล์ม สไลด์ 135

เยื้องย่าง (Slow-Walk /Keep-Slow)

206-51

คำอธิบายภาพ :

วัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ปฎิเสธไม่ ได้ว่าคนไทยทุกคนต้องรู้จัก นั้นคือการร่ายรำ ในสมัยโบราณ นางรำต้องแต่งองค์ทรงเครื่องรัด เพื่อให้ดันหน้าอก รำให้เจ้านายดู เพื่อจะโดนเรียกตัวไปเป็นสนมในแต่ละท่าน แต่ปัจจุบันการร่ายรำเป็นการแสดงที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมไทย ให้เราคนในประเทศและชนชาติอื่นได้ชมความงาม ศาสตร์ทางนาฎศิลป์ ทั้งด้วยท่วงท่าที่อ่อนช้อยและความงามของชุดแต่งกาย ดนตรีประกอบ แสงสี ที่กระทบผิวหนัง และประกายชุดสะท้อนความงาม รวมทั้งท่าทางและนางรำ สิ่งเหล่านี้เมื่อหลอมรวมกัน ผู้ชมหรือผู้เสพงานศิลป์ นอกจากจะได้เห็นวัฒนธรรมโบราณแล้ว ยังได้รู้อีกว่าของไทยมีค่าควรรักษาและสืบทอดต่อไป

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวพรรธนพรรณ อุตตโมบล
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาออกแบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปกร
ถ่ายเมื่อ : 16 มิถุนายน 2545 สถานที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 28-200 หน้ากว้าง 72 mm. ชนิดเลนส์ TAMRON 28-200 ช่องรับแสง 2.8 ความไวชัตเตอร์ 8 ประเภทฟิล์ม สไลด์ 135

ว่าวสนามหลวง (Samanluang-Kite)

206-50

คำอธิบายภาพ :

เมื่อถึงเทศกาลอากาศร้อน ถึงแม้จะนำพาความร้อนมากระทบกระเทือนจิตใจของคนในกรุงเทพฯ แต่ลมร้อนก็ไม่ได้มีแต่โทษเพียงอย่าเดียว ประโยชน์ยังมีอีกมากมาย ช่วงหน้าอากาศร้อน หากท่านได้ลองผ่านไปแถบพระราชวัง ใกล้ๆกัน ท้องสนามหลวง สนามแห่งราชพิธีสำคัญของคนในชาติ คราคร่ำไปด้วยสีสันของเครื่องเล่นในแบบไทย หลายชนิด หลายรูปแบบ ภูมิปัญญาไทยที่สอดรัดกับวัฒนธรรมของเรา การละเล่นที่มีมาแต่โบราณ เทศกาลว่างนอกจากครอบครัว จะได้มีเวลาอยู่ร่วมกันทำกิจกรรมแล้ว ผู้คนละแวกนั้นยังได้มีอาชีพ และเพิ่มสีสันให้กับนครแห่งความสับสนวุ่นวายแออัดแห่งนี้ด้วย และนี่คือเสน่ห์แห่งความงดงาม สีสันของวัฒนธรรมการละเล่นในแบบไทย ที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้เราได้เห็นกัน

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวพรรธนพรรณ อุตตโมบล
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาออกแบตกแต่งภายใน คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปกร
ถ่ายเมื่อ : 12 เมษายน 2545 สถานที่ สนามหลวง
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 28-200 หน้ากว้าง 72 mm. ชนิดเลนส์ TAMRON 28-200 ช่องรับแสง 11 ความไวชัตเตอร์ 125 ประเภทฟิล์ม สไลด์ 135

“ว่าว” จากวัยสู่วัย

206-49

คำอธิบายภาพ :

ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอภาพของความประทับใจที่แอบ ถ่ายมาจากท้องสนามหลวง “ยายแก่ๆนั่งขายว่าวกับลูกค้ารุ่นหลานๆ ยายคงรู้สึกเพลิดเพลินกับการได้ทำ ได้ขาย ได้มีส่วนร่วมกับความสนุกสนานของคนรุ่นหลานๆ” ข้าพเจ้ามองแล้วรู้สึดอบอุ่นและประทับใจ เมืองหลวงไม่เคยทำให้เด็กชนบทอย่างข้าพเจ้า รู้สึกห่างเหินจากวัฒนธรรมความเป็นอยู่ในภูมิลำเนาเดิมของข้าพเจ้าเลย ข้าพเจาะรู้สึกประทับใจ วัฒนธรรมไทยไม่ใช่สิ่งน่าเบื่อ มีเรื่องราวสาระอันดีงามและยังมีความสนุกสนาน มีสีสัน “สีสันแห่งวัฒนธรรม”

ผู้ถ่ายภาพ : นายสุรศักดิ์ ทองขาวบัว
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนต์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คลอง6)
ถ่ายเมื่อ : มีนาคม 2545 สถานที่สนามหลวง
เทคนิค : กล้อง NIKON FG เลนส์ Macro 50 mm. ช่องรับแสง 2 ความไวชัตเตอร์ 1/1000 ความไวฟิล์ม IOS 200

บัววิบัติ (ชาวพุทธกับการพลัดพรากทางวัฒนธรรม)

206-48

คำอธิบายภาพ :

ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัฒน์ แรงบีคั้นจากสภาพแวดล้อมรอบข้างทางสังคม ทำให้คนเราหาทางดิ้นรนต่อสู้เพื่อผลักดันชีวิตไปสู่ “สิ่งที่ดีกว่า” และการเท่าทันโลก จนบางครั้งทำให้คนเราลืมนึกถึงความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจ และวัฒนธรรมทางศาสนาแรงบันดาลใจเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าคิดและ สร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะภาพถ่ายขึ้นมาชื่อ “บัววิบัติ” (ชาวพุทธกับการพลัดพรากทางวัฒนธรรม) โดยใช้ดอกบัวสื่อถึงวัฒนธรรมของชาวพุทธ (ดอกบัว=ดอกไม้ใช้ไหว้พระ) ดอกบัวถูกหักก้านและแขวนคอท่ามกลางบรรยากาศอันมืดมัวและแวดล้อมไปด้วยการเค ลื่อไหวของแสงสี ซึ่งข้าพเจ้าสื่อถึง วัฒนธรรมชาวพุทธซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางศาสนาและความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจ กำลังถูกพลัดพรากและพ่ายแพ้ต่อความเจริญทางด้านวัตถุ เทคโนโลยีและค่านิยมสมัยใหม่

ผู้ถ่ายภาพ : นายสุรศักดิ์ ทองขาวบัว
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนต์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (คลอง6)
ถ่ายเมื่อ : เมษายน 2544 สถานที่ สตูดิโอ กทม.
เทคนิค : กล้อง NIKON FG เลนส์ Macro 55 mm. ช่องรับแสง 4 ความไวชัตเตอร์ B ความไวฟิล์ม IOS 100 เทคนิค Light Pinting

รอยไทย (Traditionally Thailand)

206-47

คำอธิบายภาพ :

เกษตรกรไทยในอดีตใช้โค-กระบือในการไถนา โดยสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีและค่านิยมสมัยใหม่ได้เข้ามาแทนที่ ทำให้การเกษตรกรรทแบบดั้งเดิมหาดูยากขึ้นทุกวัน แม้แต่กระบือก็มีจำนวนลดน้อยลง อีกไม่กี่ปีข้างหน้า เด็กที่เกิดและเจริญเติบโตในเมือง อาจจะตั้งคำถามกับผู้ใหญ่ว่า “กระบือเป็นตัวอย่างไร” คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น ได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษณ์วัฒนธรรมดั้งเดิมในการดำรงชีวิตของเกษตรกร ไทย จึงได้จัดให้มีการแข่งขันไถนาโดยใช้กระบือขึ้นทุกปี ในงานวันเกษตรภาคอีสาน ก่อนที่การไถนาแบบดั้งเดิมจะเป็นเพียงรอยอดีตที่ทิ้งไว้ เพียงภาพถ่ายและความทรงจำ

ผู้ถ่ายภาพ : นายอรรถวิท คิดพุทรา
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร(เอกเศรษฐศาสตร์การเกษตร) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ถ่ายเมื่อ : 25 กุมภาพันธ์ 2545 สถานที่ อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เทคนิค : เลนส์ 28-80 mm.ชนิดเลนส์ เทเลโฟโต Yashica (Manual) ช่องรับแสง 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1-125 ฟิล์ม KODAK PROIMAGE 100

สืบสานวัฒนธรรม (Phra Pedaeng Somgkran Festival)

206-45

คำอธิบายภาพ :

เทศกาลสงกรานต์ที่พระประแดง จ.สมุทรปราการ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันอาทิตย์แรกหลังสงกรานต์ (13 เมษายน) ตามแบบพื้นบ้านของชาวรามัญ มีขบวนแห่นางสงกรานต์ มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น สะบ้า ทะแยมอญและมอญผ้า มีการแห่ธงหางหงษ์ ธงตะขาบซึ่งจะแห่ไปรอบเมือง โดยมีชาวบ้านมาร่วมงานอย่างคับคั่ง มีสีสันที่งดงาม เป็นการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวมอญ ให้คงสืบต่อไป

ผู้ถ่ายภาพ : นายกฤษดากร ชัยยะเพกะ
สถาบันการศึกษา : แขนงวิชาเทคโนโลยีพาณิชยกรรม วาชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ถ่ายเมื่อ : 21-22 เมษายน 2544 สถานที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
เทคนิค : เลนส์ 77 mm. เลนส์ซูม 70-200 f 2.8 canon ช่องรับแสง f 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/60 ฟิล์ม สไลด์ฟูจิ RDPlll

ชีวิตใหม่ในพุทธศาสนา (Discover my lift)

206-44

คำอธิบายภาพ :

สีสันแห่งวัฒนธรรมอันหนึ่ง คือ ประเพณีแห่ช้างบวชนาคที่วัดหาดเสี้ยวของชาวไทยพวน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วง 7-8 เมษายน โดยวันที่ 7 จะเป็นวันแห่ช้าง เจ้าภาพจะทำการตกแต่งช้าง โกนผมลูกหลานที่จะบวช แล้วนำนาคนั่งช้างแห่มาที่วัดหาดเสี้ยว เมื่อนาคมาพร้อมกันที่วัด ก็จะเคลื่อนขบวนแห่ช้างไปรอบเมือง หลังจากแห่ช้างรอบเมืองแล้ว หากนาคบ้านใดอยู่ตรงข้ามวัดหาดเสี้ยว ก็จะนำช้างข้ามแม่น้ำยมกลับไปเพื่อเตรียมตัวในการอุปสมบทต่อไป ซึ่งเป็นภาพที่สวยงาม

ผู้ถ่ายภาพ : นายกฤษดากร ชัยยะเพกะ
สถาบันการศึกษา : แขนงวิชาเทคโนโลยีพาณิชยกรรม วาชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ถ่ายเมื่อ : 7 เมษายน 2544 สถานที่ วัดหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
เทคนิค : เลนส์ 77 mm. เลนส์ซูม 70-200 f 2.8 canon ช่องรับแสง f8 ความไวชัตเตอร์ 1/125 ฟิล์ม สไลด์โกดัก EPP