นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)
สีสันแห่งวัฒนธรรม

เส้นแสงนำธรรม (Candlelight to lead dharma)

206-43

คำอธิบายภาพ :

การเวียนเทียนมีมานานและคนไทยก็ยังประกอบพิธีกรรม นี้มานานเช่นกัน เพราะคนไทยคิดว่า แสงเทียนคือแสงที่นำพาไปสู่ความสงบ และความสำเร็จทั้งปวง คนไทยจึงยึดถือการประกอบพิธีกรรมที่สวยงาม และน่าจะอนุรักษ์ไว้ แต่ปัจจุบันก็พบเห็นได้มาก แต่การเวียนเทียนที่โบสถ์สมัยอยุทธยาก็ยังคงหาดูได้ยากเช่นกัน และคนสมัยนี้จะต้องเริ่มสนใจสิ่งพวกนี้ซึ่งมันเป็นของคนไทยทั้งชาติ ควรดูแลอนุรักษ์ไว้ตลอดไป

ผู้ถ่ายภาพ : นายอดิศักดิ์ รสหวาน
สถาบันการศึกษา : สาขาวิชา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
ถ่ายเมื่อ : 26 พฤษภาคม 2545 สถานที่ จ.อยุทธยา
เทคนิค : กล้อง NIKON f80 เลนส์ 19-35mm. ซูมที่19 (เลนส์ซูม Y) F 8 ความไวชัตเตอร์ 1/60 วินาที ฟิล์ม KODAK Gold 100

แสงแห่งพระธรรม

206-41

คำอธิบายภาพ :

เป็นประเพณีที่เก่าแก่ในวันวิสาขบูชา เป็นวันที่มีประชาชนมาเคารพและบูชาพระพุทธรูป และได้ทำการฟังพระเทศนา และได้เวียนเทียนกัน ต่างคนก็ต่างอิ่มบุญกันอย่างดี และมีความสุขในวันวิสาขบูชานี้ จากนั้นก็ได้แยกย้ายกันกลับบ้านกัน

ผู้ถ่ายภาพ : นายสุทธิภูมิ ชุมทอง
สถาบันการศึกษา : สาขาวิชา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
ถ่ายเมื่อ : 9 พฤษภาคม 2545 สถานที่ วัดหน้าพระเมรุ
เทคนิค : เลนส์ 28-80 mm. F-Stop 4 ความไวชัตเตอร์ B5 วินาที ฟิล์ม Fuji color IOS100

ผูกผ้าเจดีย์

206-40

คำอธิบายภาพ :

วันนั้นเป็นวันวิสาขบูชา ผมไปอยุธยาเพื่อถ่ายภาพส่งประกวด และผมได้ผ่านหน้าพระเมรุ และได้เจอการประกอบพิธีการผูกผ้าเจดีย์ พิธีการนี้เป็นพิธีการที่เก่าแก่ของอยุธยาสืบทอดกัน พิธีการผูกผ้าเจดีย์นี้ต้องอันเชิญเทวดาลงมาสิงสถิตย์ที่องค์พระเจดีย์ เสร็จแล้วจึงทำการผูกผ้าเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคล

ผู้ถ่ายภาพ : นายสุทธิภูมิ ชุมทอง
สถาบันการศึกษา : สาขาวิชา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
ถ่ายเมื่อ : 9 พฤษภาคม 2545 สถานที่ วัดหน้าพระเมรุ
เทคนิค : เลนส์ 28-80 mm. F-Stop 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/500 ฟิล์ม Fuji color IOS100

ศิลปะมวยไทย (Thai Boxing)

206-39

คำอธิบายภาพ :

ภาพการชกมวยไทยคาดเชือกนี้ถ่ายจากงานเทศกาลวัด อรุณ เ)นหนึ่งในโครงการอณุรักษณ์วัดอรุณฯ โครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้มีใจรักในโบราณสถานแห่งประวัติศาสตร์ ในการช่วยกันดำรงไว้ซึ่งการอณุรักษณ์โบราณสถาน การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของโบราณสถาน และโบราณวัตถุในวัดอรุณฯ รวมไปถึงการเผยแพร่ให้วัดอรุณฯ เป็นที่รู้จักของชาวไทยและชาวต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงประเทศไทยอีกทาหนึ่ง
กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในงานวัดอรุณนี้ ประกอบไปด้วยหรสพที่สาบสูญไปนานกว่าร้อยปี ได้ถูกปลุกให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง เชื่อว่า ทุกคนที่ไปเที่ยวชมคงได้อิ่มตาอิ่มใจไปกับการแสดงศิลปะหัตกรรม และวัฒนธรรมอันงดงามของไทยที่หาชมได้ยากยิ่ง ฉันจึงอยากสนับสนุนแนวคิดของผู้ริเริ่มโครงการนี้ เพื่ออณุรักษณ์ความเป็นไทยให้คงอยู่ตลอดไป

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวบุญญาภรณ์ สัจจะทนะสกุล
สถาบันการศึกษา : สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีราขมงคล วิทยาเขตพาณิชยการพระนคร
ถ่ายเมื่อ : 13 พฤศจิกายน 2543 สถานที่ วัดอรุณราชวรราราม ราชวรมหาวิหาร
เทคนิค : กล้อง Nikon FM2N เลนส์ 35-105 mm. ช่องรับแสง f/8 ความไวชัตเตอร์ 1/2 วินาที ฟิล์ม VECVIA เทคนิค ตั้งขากล้องและใช้แฟลช

โขน-รามเกียรติ์ (Khon-Ramakien)

206-36

คำอธิบายภาพ :

สรรพศาสตร์ที่แสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรือง ด้วยอานยธรรมด้านศิลปการแสดง”โขน” เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีมาแต่โบราณ เกิดจากการผสมผสานระหว่าง “การชักนาคดึกดำบรรพ์ หนังใหญ่ และกระบี่กระบอง” ซึ่งมีรูปแบบของละครในไปผสมผสานด้วย จึงเกิดเป็นโขนในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ โขนกลางแปลง โขนโรงใน โขนหน้าจอ โขนฉากและโขนชักรอก โดยเรื่องราวที่ใช้ในการดำเนินเรื่องคือ “รามเกียรติ์”

ผู้ถ่ายภาพ : นายสมโภช แตงไทย
สถาบันการศึกษา : แผนกวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
ถ่ายเมื่อ : 22 กันยายน 2544 สถานที่ วัดพระเชตพนฯ (วัดโพธิ์)
เทคนิค : กล้อง Nikon FM 10 เลนส์ 28-105 mm. F-stop 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/125 ฟิล์ม Kodak Gold 100 IOS

เชิดหุ่น (Puppet compelling tricks)

206-35

คำอธิบายภาพ :

หุ่นละครเล็ก เป็นมหรสพชาวบ้าน สร้างขึ้นจากภูมิปัญญาชาวบ้านโดยพ่อครูแกร มีที่มาจากการเลียนแบบหุ่นหลวง ทั้งรูปร่างหน้าตา และขนาดของตัวหุ่นสูงประมาณ 1 เมตร ใช้เครื่องแต่งกายแบบโขนละครจริง ต่างกันที่กลไกการบังคับหุ่นและลีลาการเชิดหุ่น ที่มีเอกลักษณ์ ลีลาการเคลื่อนไหวที่เหมือนมีชีวิตจริง ซึ่งเกิดจากการผสมผสานศิลปะหลายแขนง อิทิเช่น การเชิดหุ่น โขน ละคร

ผู้ถ่ายภาพ : นายสมโภช แตงไทย
สถาบันการศึกษา : แผนกวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวิดีทัศน์ คณะศิลปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี
ถ่ายเมื่อ : 22 กันยายน 2544 สถานที่ วัดพระเชตพนฯ (วัดโพธิ์)
เทคนิค : กล้อง Nikon FM 10 เลนส์ 28-105 mm. F-stop 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/60 ฟิล์ม Kodak Gold 100 IOS

มุ่งมั่น (The Man & The Work)

206-32

คำอธิบายภาพ :

เป็นการแสดงให้เห็นถึงความงดงามในเชิงช่าง หรือความงามในปรัชญา ความคิดของช่างเที่ยน ในกรรมวิธีในการตระเตรียมและตกแต่งต้นเทียน อันเป็นภูมปัญญาพื้นเมืองเพื่อให้ต้นเทียน ทันตามกำหนดในงานประเภณีแห่เทียนพรรษาที่ประชาชนชาวจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมแรงร่วมใจ จัดงานอันยิ่งใหญ่นี้ จึงเป็นวิถีวัฒนธรมชุมชนของคนในจังหวัดโดยแท้

ผู้ถ่ายภาพ : นายนวรัตน์ อิ่มหมี
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาการถ่ายภาพและภาพยนต์ วิชาเอกการรถ่ายภาพและภาพยนต์ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ถ่ายเมื่อ : กรกฎาคม 2544 สถานที่ วัดแจ้ง จ.อุบลราชธานี
เทคนิค : กล้อง FM2N LENS 35-70 mm. ช่องรับแสง F5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/12 ฟิล์ม KONICA 100

ร่วมใจ (Meeting Festival Light & Sound)

206-31

คำอธิบายภาพ :

เป็นภาพการแสดงแสงสีเสียง ในงานประเพณีแห่เทียนพรรษาที่เป็นความประทับใจของชาวจังหวัดอุบลราชธานี เป็นการแสดงความเป็นมาของจังหวัด ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน และเป็นวัฒนธรรมที่มีค่าที่จะต้องสืบทอด เพื่อเยวชนรุ่นต่อไป

ผู้ถ่ายภาพ : นายนวรัตน์ อิ่มหมี
สถาบันการศึกษา : ภาควิชาการถ่ายภาพและภาพยนต์ วิชาเอกการรถ่ายภาพและภาพยนต์ ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ถ่ายเมื่อ : 25 กรกฎาคม 2544 สถานที่ ทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
เทคนิค : กล้อง FM2N LENS 24 mm. ช่องรับแสง F5.6 ความไวชัตเตอร์ B:5 วินาที ฟิล์ม KONICA 100

มาละเหวย มาละวา (Ma La Whey Ma La Wa)

206-28

คำอธิบายภาพ :

ขบวนกลองยาว การรำกลองยาวเป็นประเพณีพื้นบ้านของไทยในอดีต แต่ปัจจุบันเราจะพบเห็นกันมากในแถบชุมชน หรือชานเมือง เมื่อถึงงานเทศกาลต่างๆ ชาวบ้านก็จะมีความสามัคคีรวมตัวกันขึ้น ช่วยเหลือกันอย่างไม่ขาดสาย นี่ก็คือน้ำใจส่วนหนึ่งที่หาไม่ได้ยากเลยจากคนไทยด้วยกัน อาจจะมีให้เห็นบ้างในเมืองหลวง เมื่อมีงานหรือเทศกาลใหญ่ๆ อาทิ งานประเพณีสงกรานต์ งานฉลองกรุง 220 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ขบวนรำกลองยาวนี้เป็นขบวนกลองยาวที่มีความสนุกสนาน มีการร้องรำกันอย่างครื้นเครงแบบไทยๆ และเป็นอีกความงามหนึ่งที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเพณีที่เราควรจะสืบทอดต่อกันไป

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวเมทินี อายุรพรรณ
สถาบันการศึกษา : คณะนิเทศศาสตร์ สาขาโฆษณา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ถ่ายเมื่อ : 21 เมษายน 2545 สถานที่ สะพานผ่านฟ้า
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 29-90 mm. ชนิดเลนส์ Normal ช่องรับแสง F 8 ความไวชัตเตอร์ 1-125 ฟิล์ม Kodak Image 100

ลีลาอ่อนช้อย (Thai Dance)

206-27

คำอธิบายภาพ :

รำบายศรี การรำบายศรี เป็นประเพณีพื้นบ้านของไทยในภาคเหนืออีกอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน เป็นการรำที่ดูละเอียดอ่อน สวยงามอย่างเป็นเอกลักษณ์ของไทย และเป็นสีสันของความงามที่ชาวต่างชาตินิยมชื่นชอบกันเป็นอย่างมาก ส่วนมากนิยมนำมาใช้ในวาระสำคัญๆ เนื่องในโอกาศต่างๆที่เป็นงานมงคล อาทิ งานยินดีต้อนรับแขกที่มาเยือน งานเกษียณอายุของข้าราชการ ซึ่งลูกหลานไทยรุ่นหลังอย่างเราควรจะอณุรักษณ์วัฒนธรรมประเพณีการรำบายศรี นี้ไว้ เพื่อที่จะสืทอประเพณีสืบต่อไป

ผู้ถ่ายภาพ : นางสาวเมทินี อายุรพรรณ
สถาบันการศึกษา : คณะนิเทศศาสตร์ สาขาโฆษณา มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ถ่ายเมื่อ : 20 เมษายน 2545 สถานที่ วังสราญรมณ์
เทคนิค : ขนาดเลนส์ 20 mm. ช่องรับแสง F 5.6 ความไวชัตเตอร์ 1/125 ฟิล์ม Kodak Pro Image 100