นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

วงล้อแห่งชีวิต (Whell of Life)

223-70

คำอธิบายภาพ :

จากภาพเป็นขั้นตอน “การปั่นและกรอด้าย” ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเตรียมด้ายที่ใช้ในการทอผ้า แต่เดิมชาวบ้านมีการปลูกฝ้ายเพื่อใช้ในการทอผ้าเอง จึงต้องเปลี่ยนปุยฝ้ายให้เป็นเส้นด้านโดยนำฝ้ายมาหีบเพื่อแยกเมล็ดออกจาก เส้นใย ปุยฝ้ายที่หีบแล้วเส้นใยยังพันกันเป็นกลุ่มๆอัดตัวแน่นต้องนำมาดีดหรือยิง ด้วยกง และไม้ดีดให้ฟู มีน้ำหนักเบาและจับกลุ่มกันได้ขนาดที่สม่ำเสมอ จากนั้นแผ่ลงบนกระดานไม้และม้วนด้วยไม้ล้อ นำม้วนเนื้อฝ้ายที่ทำเป็นล้อมาเข้ากระบวนการสาวและปั่นด้วยอุปกรณ์ที่เรียก ว่า “ไน” ซึ่งมี2ขนาดคือ ไนมีวงล้อใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับกรอด้ายลงหลอดด้ายอันใหญ่ที่จะใช้เป็นด้ายยืน ส่วนไนที่มีวงล้อเล็กกว่าจะทำหน้าที่กรอเส้นด้ายลงหลอดขนาดเล็กที่จะนำ เข้าไปสอดไว้ในรางกระสวยเพื่อทำหน้าที่เป็นด้ายนอน (ด้ายพุ่ง) แม้ในปัจจุบันได้มีการใช้ด้ายสำเร็จรูปในการทอผ้า ก็ยังต้องมีการกรอด้ายลงกระสวยเพื่อใช้ในการทอผ้าต่อไป

งานทอผ้า เปรียบเสมือนวงล้อแห้งชีวิตของผู้หญิง ลักษณะโดยทั่วไปของสังคมเกษตรกรรมในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้หญิงจะได้รับบทบาทดูแลในเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ขณะที่ผู้ชายจะรับผิดชอบในเรื่องของการผลิตเพื่อบริโภค ในอดีตมีการทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน จะทอเหลือไว้สำหรับแลกเปลี่ยนเล็กน้อย ลักษณะเศรษฐกิจแบบยังชีพ การทอผ้าแท้จริงคือกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) และพิธีกรรมทางผ่านที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของผู้หญิง (Rite of Passage) เด็กหญิงและหญิงสาวต้องเรียนรู้กระบวนการทอผ้าจากแม่ ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง หรือเพื่อนบ้าน วิธีการถ่ายทอดและเรียนรู้โดยการเข้าไปเป็นผู้ช่วยเพื่อเรียนรู้ไปในตัว การสอนแบบบอกเล่าปากเปล่า เรียนรู้จากการสังเกตแม่หรือญาติผู้ใหญ่ในการทอผ้าอยู่เรื่อยๆ ในอดีตจะเห็นญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านที่ผ่านไปผ่านมาอาจเข้ามาช่วยหยิบแยก เมล็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้ายขณะที่เจ้าของกำนันหีบฝ้ายอยู่หรือนั่งพูดคุยกันขณะ นั่งกรอด้าย ซึ่งประโยชน์ทางอ้อมคือหญิงสาวอาจได้รับการอบรมสั่งสอนหรือเรียนรู้วัฒนธรรม ด้านอื่นๆไปพร้อมกัน ผู้หญิงเริ่มต้นการเรียนรู้การทอผ้าตั้งแต่วัยเด็กควบคู่ไปกับการเรียนรู้ งานบ้านต่างๆ เมื่อเติบโตเป็นหญิงสาวจะต้องทอผ้าเตรียมไว้ใช้ในพิธีแต่งานอาทิ เครื่องแต่งกายสำหรับพิธีแต่งงานทั้งของตนเองและของเจ้าบ่าว รวมทั้งเครื่องใช้ต่างๆในการออกเรือน ผ้าเหล่านี้จะทอกันอย่างปราณีตสุดฝีมือ และจะเก็บรักษาไว้อย่าดี ภายหลังการแต่งงานต้องทอผ้าเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และใช้สอยในงานประเพณี จนถึงวัยชราต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าให้แก่ลูกหลาน นอกจากนี้ กระบวนการทอผ้าของผู้หญิงยังเป็นช่องทางหรือกลไกลที่สังคมและวัฒนธรรมเปิด ไว้สำหรับผู้หญิงให้เข้าไปมีส่วนร่วมหรือเข้าไปมีบทบาทในด้านต่างๆ เช่น เศรฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนาร่วมกับผู้ชายในชุมชน

การทอผ้าเป็นส่วน หนึ่งของการผลิต การจำหน่าย และการบริโภค ระบบเศรฐกิจในชุมชนวังหลุมพอง ซึ่งเป็นอีกชุมชนหนึ่งซึ่งหนีไม่พ้นกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากการประทะสังสรรค์กับโลกภายนอกอยู่ตลอดเวลา การเกิดค่านิยมแนวอนุรักษณ์งานหัตกรรม ทำให้ผ้าทอพื้นเมืองขึ้นมามีบทบาทในฐานะอาชีพเสริมของชาววังหลุมพอง การทอผ้าแบบกี่มือแบบพื้นเมืองไม่อาจจะทอได้ทันกับความต้องการของตลาดจำเป็น ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมการทอผ้าเพื่อให้ได้ผลผลิตจำนวนมาก นั่นคือการทอผ้าแบบกี่กระตุกที่สามารถทอได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้การทอผ้าเป็นกิจกรรมที่กระทำได้ตลอดทั้งปี นั่นหมายถึงรายได้ที่พวกเข้าได้รับสูงขึ้น ความสัมพันธ์ในแง่การผลิตแบบใหม่นี้ พบว่ามีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมของงาน ขั้นตอนการผลิตแบ่งออกเป็นส่วนๆซึ่งเป็นหน่วยที่ชัดเจนเหมือนการแบ่งฝ่ายการ ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม ครอบครัวไม่ได้เป็นหน่วยการผลิตเบ็ดเสร็จแบบดั้งเดิม บางครอบครัวจะรับหน้าที่ในการกรอด้ายเพียงอย่างเดียว บางครอบครัวจะรับหน้าที่ค้นด้ายและขึ้นเครือเพื่อขึ้นด้ายยืน ส่วนการทอซึ่งเป็นส่วนที่ซับซ้อนน้อยที่สุดสามารถกระทำได้ทุกครอบครัว

ผู้ถ่ายภาพ : อรวรรณ ทับสกุล
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : มีนาคม 2544 บ้านวังหลุมพอง ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
เทคนิค : กล้อง Nikon FM2 เลนส์ Zoom-Nikon 80-200 มม. ตั้งซูม 80 มม. F/4 ,1/30 วินาที ฟิล์มโกดัก EB-2 ISO 100

Comments are closed.