นิทรรศการภาพถ่ายประกวด

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

จุดเริ่มต้น (Jood-R)

223-71

คำอธิบายภาพ :

ในครั้งอดีตที่ผ่านสมัยโบราณมา บรรพบุรุษไม่นิยมใส่เสื้อกันเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะผู้ชายนิยมใช้ผ้าขาวม้า และนุ่งกางเกงขาสั้น หรือมีบางครั้งอาจใส่เสื้อยันต์ ในการออกรบกับข้าศึก และผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมนุ่งโจงกระเบน และใช้ผ้าคาดหน้าอกส่วนบน และไม่นิยมใส่เสื้อผ้าเหมือนปุจจุบันนัก การที่จะหาผ้ามาตัดกางเกง โจงกระเบน หรือผ้าขาวม้านั้น ไม่นิยมในการซื้อเท่าไหรนัก เพราะบรรพบุรุษของเรามีฝีมือในการถักทอต่างๆมาก และเป็นการสืบทอดวิถีการทอผ้ามาจนปัจจุบันเนื่องจากสมัยก่อนกาล นอกจากการทำไร่นาแล้ว เมื่อพ้นหน้าทำนาเกี่ยวข้าวแล้ว พอมีเวลาก็จะมาทำการทอผ้าเพื่อเอาไว้ใช้สอยและเป็นอีกหนึ่งภูมปัญญาของ บรรพบุรุษแต่ก่อนกาล ที่เอารังของไหมมาต้มและถักทอเป็นผืนเพื่อเก็บไว้ตัดเย็บ ขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากการเลี้ยงไหมโดยใช้ใบของหม่อน เป็นอาหาร เมื่อตัวไหมยังเล็กอยู่เรียกว่า “ดักแด้” เมื่อดักแด้โตขึ้นและพร้อมที่ตัวไหมดักแด้เองจะทำการถักทอรังของดักแด้สัก ประมาณ 3-5 รังที่เป็นเส้นและมารวมกันให้เป็นเส้น ปั่นใส่หูก ซึ่งการปั่นใส่หูกนี้เพื่อการเก็บตัวไหมให้เป็นระเบียบและพร้อมที่จะถักทอ เป็นผ้าผืน แล้วนำไปตัดเย็บต่อไป ปัจจุบัน วิธีการแต่เก่าก่อนสามารถพบเห็นได้ตามจังหวัดภาคอิสานและที่สำคัญ ผ้าไหมของเรายังเป็ฯสินค้าส่งออกซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอีก ด้วย ทำให้ประชาชนมีรายได้ วิธีการแต่เก่าก่อนซึ่งเป็ฯภูมปัญญาของบรรพบุรุษนั้นเราซึ่งเป็ฯชนรุ่นหลัง ซึ่งสมควรให้ความสำคัญและอนุรักษ์เอาไว้และมีการเผยแพร่ สอนให้ชนรุ่นหลังเห็นความสำคัญ ดั่งในรูปซึ่งเป็นการสอนวิธีการปั่นหูกให้หนู๋น้อยวัยเยาว์รู้ถึงวิธีการและ ภูมิปัญญาของบรรพชนไทย

ผู้ถ่ายภาพ : อัจฉรา กิตติพงศ์สถาพร
สถาบันการศึกษา : -
ถ่ายเมื่อ : 12 มีนาคม 2543 เวลา 15.30 น. จ.สุโขทัย
เทคนิค : กล้อง Nikon เลนส์ 80-200 F8 Speed 125 ฟิล์มฟูจิ Provia

Comments are closed.